สภาพน้ำ |
เคมี |
จำนวน |
pH ต่ำกว่า 7.2 |
เติมโซดาแอช |
500 กรัม/น้ำ 100 คิว |
วิธีการคำนวณน้ำในสระว่ายน้ำ
วิธีแก้ปัญหาน้ำในสระว่ายน้ำขุ่น
สาเหตุ/สภาพน้ำในสระว่ายน้ำ |
การแก้ไขปัญหาสระว่ายน้ำ |
น้ำเป็นสีแดงน้ำตาล / เขียวฟ้า / ดำน้ำตาล |
|
น้ำสภาพขุ่นเขียว |
|
เกิดอาการระคายเคืองทุกครั้งที่ลงสระว่ายน้ำ |
|
น้ำในสระว่ายน้ำขุ่นอาจเกิดจากระบบสระว่ายน้ำ |
|
โครงสร้างสระว่ายน้ำ
สระว่ายน้ำคอนกรีตปูด้วยกระเบื้องหรือปูด้วยโมเสค คือ โครงสร้างทั้งหมดเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก (ค.ส.ล.) ข้อดีของโครงสร้างแบบนี้จะมีความแข็งแรงทนทาน และสามารถออกแบบได้หลายขนาดหลากหลายรูปทรงตามใจชอบ และมีความสวยงามมากกว่าแบบอื่น
สระว่ายน้ำไฟเบอร์กลาส คือสระว่ายน้ำสำเร็จรูปที่ทำการขึ้นแบบมาจากโรงงาน แล้วนำมาติดตั้งบนพื้นที่ที่จัดเตรียมไว้เรียบร้อยแล้วมีระยะเวลาการติดตั้งเร็วกว่าแบบอื่น
สระว่ายน้ำไลเนอร์หรือไวนิล คือ สระที่ทำจากโครงสร้างเหล็กหรือพลาสติกหล่อคุณภาพดี แล้วปูด้วยไลเนอร์ที่ผลิตขึ้นมาสำหรับสระว่ายน้ำโดยเฉพาะ โดยใช้แรงดันน้ำเป็นตัวบังคับให้ผ้าไวนิลติดแนบกับโครงสร้างพื้นและผนังที่เตรียมไว้ และสระสำเร็จรูปที่ผลิตจากไวนิลจะต้องมีการเปลี่ยนผ้าไวนิลทุกๆ 10 ปี
ระบบสระว่ายน้ำ
1. ระบบ Overflow คือน้ำจะไหลจากสระว่ายน้ำมาลงที่รางน้ำขอบสระ จากนั้นไหลลงสู่ Surge Tank เข้ามาผ่านถังกรอง แล้วจึงไหลกลับเข้าไป ในสระอย่างเดิม
- มีรางน้ำ(Grating) อยู่รอบขอบสระว่ายน้ำ หรือกำหนดให้น้ำล้นออกฝั่งไหนก็ได้ขึ้นอยู่กับการที่เราออกแบบ
- ระดับน้ำจะอยู่ปริ่มขอบสระว่ายน้ำพอดี ทำให้ผิวน้ำแลดูตึงสวยสะอาดอยู่ตลอดเวลา
- มีบ่อพักน้ำ (Surge Tank) มีขนาดไม่น้อยกว่า 10 % ของสระว่ายน้ำ
- รูปแบบสระจะดูสวยงามกว่าระบบ Skimmer
2. ระบบ Skimmer คือน้ำจะไหลจากสระผ่านช่องสี่เหลี่ยมตรงผนังสระ(Skimmer) เข้ามาผ่านถังกรอง แล้วจึงกลับเข้าสระเหมือนเดิม
- ระดับของน้ำในสระจะไม่ถึงขอบสระ ระดับน้ำจะอยู่ต่ำกว่าขอบสระว่ายน้ำ 10-20 ซม.
- ราคาจะถูกกว่าระบบ Overflow
ระบบบำบัดสระว่ายน้ำ
สระว่ายน้ำระบบคลอรีน คือ การนำคลอรีนในรูปของ ของเหลว ผง เกล็ด หรือแบบก้อน 90 กรัม, 15 กรัม โดยใช้เป็นคลอรีนจะเป็นตัวฆ่าเชื้อโรค และน้ำในสระว่ายน้ำควรจะมีค่า PH ระหว่าง 7.2-7.8 เพื่อจะทำให้การฆ่าเชื้อโรคในสระว่ายน้ำมีประสิทธิภาพสูงสุด
สระว่ายน้ำระบบเกลือ คือ เป็นระบบที่ใช้เกลือธรรมชาติ(NaCL) มาผ่านกระบวนการ Electrotytic Process โดยเครื่อง Salt Chlorinator ทำให้กลายเป็นคลอรีนเหลว หรือโซเดียมไฮโปคลอไรด์ และไฮโดรเจน ซึ่งจะช่วยฆ่าเชื้อโรค และน้ำในสระจะไม่มีกลิ่นคลอรีน ทำให้ไม่แสบจมูก แสบตา หรือระคายเคืองต่อผิวหนังแถมยังเพิ่มความชุ่มชื่นให้แก่ผิวหนังปัจจุบันในประเทศไทยเริ่มหันมาใช้ระบบนี้มากขึ้น
สระว่ายน้ำระบบโอโซน คือ กรรมวิธีคายประจุไฟฟ้า โดยจะเกิดอีเล็กตรอน ซึ่งตัวอิเล็กตรอนนี้จะกระทำปฎิกิริยากับอณูของอ๊อกซิเจน ทำให้เกิดปรมาณูและอณูของอ๊อกซิเจนขึ้น และปรมาณูและอณูของออกซิเจน จะทำให้เกิดโอโซน และระบบนี้ต้องใช้ควบคู่กับระบบคลอรีนหรือระบบเกลือเพื่อให้ได้ค่าน้ำที่เป็นมาตรฐานกำหนด
ตารางเปรียบเทียบสระว่ายน้ำระบบคลอรีน,ระบบเกลือและระบบโอโซน
ตารางเปรียบเทียบระบบ Overflow กับ Skimmer
สกิมเมอร์ SKIMMER BOX TYPE | น้ำล้น OVERFLOW TYPE | |
1.งบประมาณก่อสร้าง | น้อยกว่า | มากกว่า |
2.งานระบบ | น้อยกว่า | มากกว่า ยากกว่า |
3.การออกแบบ | ง่าย | ยากกว่า ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ |
4.ความสวยงามของ | น้ำหมุนเวียนอยู่ภายใน สระว่ายน้ำ | น้ำล้นขอบของสระไหลเข้าถังพัก |
สระว่ายน้ำ | ใต้ขอบสระว่ายน้ำเท่านั้น | แล้วหมุนเวียนกลับเข้า สระว่ายน้ำ |
5.ปริมาณรวมของน้ำ | น้อยกว่า | มากกว่า |
6.ขนาดของสระว่ายน้ำ | เหมาะกับสระขนาดเล็ก | เหมาะกับสระทุกขนาด |
7.ระยะเวลาก่อสร้าง | สั้นกว่า | นานกว่า |
8.การบำรุงรักษา | ใช้เวลาหมุนเวียนบำบัดน้ำนานกว่า | หมุนเวียนน้ำได้เร็วและทั่วทั้งสระมากกว่า |
ตารางเปรียบเทียบสระว่ายน้ำระบบคลอรีน,ระบบเกลือและระบบโอโซน
ระบบคลอรีน |
ระบบเกลือ | ระบบโอโซน |
1.ใช้คลอรีนในการบำบัดสระ สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ดี | 1.ใช้เกลือในการบำบัดสระ สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ดีเทียบเท่าคลอรีน | 1.ใช้โอโซนในการบำบัดสระ ฆ่าเชื้อโรคได้ดีที่สุด |
2.ถ้าดูแลไม่ดี ทำให้มีคลอรีนหลงเหลือในสระ ทำให้ไม่ปลอดภัย | 2.มีความเค็มเพียงครึ่งหนึ่งของน้ำตาคนเท่านั้น | 2 ต้องมีระบบเกลือหรือคลอรีนควบคู่ไปด้วย เพื่อให้มีค่าคลอรีนอิสสระในน้ำตามมาตรฐานที่กำหนด |
3.ต้องคอยตรวจสอบปริมาณของคลอรีนอิสสระในน้ำตลอดเวลา | 3.เกลือ(Nacl)ไม่สูญหายไปไหนนำมาใช้ใหม่ได้ตลอดเวลา จะหายไปก็แค่ถ้ามีน้ำสูญหายไปจากสระเท่านั้น | 3.ค่าใช้จ่ายตอนเริ่มต้นจะแพงที่สุด |
4.ถ้าปริมาณคลอรีนในสระไม่เพียงพอในการฆ่าเชื้อโรคจะทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ | 4.ไม่แสบตา ,ไม่ระคายผิวหนัง ,ไม่มีกลิ่นฉุน | |
5.มีผลข้างเคียงจากคุณสมบัติของคลอรีน | 5.การดูแลทำความสะอาดสระ จะยากกว่าระบบคลอรีนนิดหน่อย | |
6.ค่าใช้จ่ายตอนเริ่มต้นน้อยสุด | 6.ค่าใช้จ่ายตอนเริ่มต้นจะแพงกว่าคลอรีน | |
7.ค่าดูแลรักษารายเดือนจะแพงกว่าเกลือและโอโซน | 7.ค่าดูแลรักษารายเดือนจะถูกสุด |